นอนไม่หลับ! ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

 ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต เปิดสถิติ พบ “คนไทยเผชิญภาวะนอนไม่หลับมากถึง 40%” ของประชากรทั้งหมด หรือราวๆ 19 ล้านคน โลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน การนอนหลับฝันดีกลายเป็นเรื่องที่ท้าทายมากขึ้น ด้วยความเครียด ความวิตกกังวล และสิ่งรบกวนสมาธิต่างๆ หลายๆ คนต้องดิ้นรนเพื่อให้ได้การนอนหลับที่มีคุณภาพ

ทำความรู้จัก อาการนอนไม่หลับ (Insomnia)
     เป็นโรคความผิดปกติในการนอน เป็นภาวะนอนหลับยาก หลับไม่สนิท หรือหลับๆ ตื่นๆ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของคนวัยทำงาน และผู้สูงอายุ หากปล่อยไว้นานจนเรื้อรังอาจส่งผลเสียต่ออารมณ์ ความจำ การตื่นตัว และทำให้รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา

     เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อาหารที่เราทาน รูปแบบการใช้ชีวิต โรคต่างๆ การใช้ยาบางชนิด ความเครียด ตลอดจนสภาพแวดล้อมภายนอกที่เข้ามารบกวน ซึ่งโดยปกติแล้วในแต่ละวันเราควรนอนหลับเป็นเวลาเฉลี่ย 7 – 9 ชั่วโมง

การนอนไม่หลับส่งผลเสียอย่างไร?
      มีหลักฐานจากการศึกษาวิจัยจำนวนมากชี้ว่า หากพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือนอนไม่หลับ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลง ประสิทธิภาพการทำงานลดลง การตอบสนองของสมองช้าลง และร่างกายทำงานติดขัด เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง และเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมมากกว่าคนทั่วไปอีกด้วย


1. สร้างบรรยากาศ ลดแสง เงียบ อากาศเย็นพอดี บรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมภายในห้องนอน จัดห้องนอนให้บรรยากาศเหมาะสมแก่การนอนหลับ คือ เงียบ สบาย ปลอดภัย ไม่มีแสงรบกวน มีอากาศถ่ายเทสะดวก เป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกๆ ที่ช่วยให้เราสามารถนอนหลับได้อย่างมีคุณภาพ
2. ไม่เล่นโทรศัพท์ ทำงานก่อนนอน  แสงสีฟ้าจากหน้าจอทำลายระบบนี้ทำให้ pineal gland สร้าง melatonin น้อยลง มีผลทำให้นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควรออกกำลังกายในช่วงเช้า หรือ ช่วงกลางวัน และไม่ควรใกล้เวลานอนมาก (การออกกำลังกายควรห่างจากเวลาเข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง)
4. งดรับประทานอาหารหนัก ๆ ก่อนเข้านอน หากทานอาหารหนัก ๆ ก่อนนอน อาจส่งผลให้ ร่างกายจะต้องทำงานหนักในการย่อยอาหารเหล่านี้ ในขณะที่เรานอนหลับ ทำให้หลับไม่สนิท อาจมีอาการแน่นท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อย
5. หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ คาเฟอีนและแอลกอฮอล์ สามารถขัดขวางการนอนหลับลึกได้ พยายามหลีกเลี่ยงชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ ในช่วงก่อนเข้านอน
6. นอนให้เป็นเวลา การนอนไม่เป็นเวลา เดี๋ยวนอนดึกเดี๋ยวนอนหัวค่ำ เพราะพฤติกรรมการนอนไม่เป็นเวลาจะทำให้ร่างกายเกิดความสับสนว่าถึงเวลานอนแล้วหรือยัง
7. รับประทานวิตามินและแร่ธาตุเสริม เพื่อช่วยแก้ปัญหานอนหลับยากได้ เช่น วิตามินบี , แมกนีเซียม ช่วยเพิ่มการผ่อนคลาย ลดความเครียด ความวิตกกังวลทำให้หลับลึกขึ้น ทำให้นอนหลับได้สนิทเพิ่มมากขึ้น เมื่อตื่นขึ้นมายามเช้าจะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น รู้สึกผ่อนคลาย และมีความสุข

     หากทำวิธีดังกล่าวข้างต้นเป็นประจำ จะสามารถช่วยให้นอนหลับได้ง่าย หลับสนิทตลอดทั้งคืน ทำให้ตื่นมาแล้วสดชื่นเสมือนร่างกายได้นอนอย่างเต็มที่ การนอนหลับในทุกๆ คืนเป็นการพักผ่อนที่ดีและมีคุณภาพ พร้อมทั้งเป็นการสร้างสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

 

สิ่งดีๆ ที่อยากแนะนำ
SWISS ENERGY BY DR. FREI MAGNESIUM + B COMPLEX 

( สวิสเอ็นเนอร์จี้ บาย ด็อกเตอร์ฟราย แมกนีเซียม ผสม วิตามินบี)  
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามินแร่ธาตุที่มีคุณภาพ 
ผ่านการตรวจสอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) 
และได้ใบรับรองคุณภาพจากสถาบันคุณภาพมาตรฐานระดับสากล

มาในรูปแบบวิตามินเม็ดฟู่ ดูดซึมได้ง่ายกว่าทั่วไป 
1 เม็ดอัดแน่นไปด้วยแมกนีเซียม และวิตามินบีคอมเพล็กซ์

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพ , กรมสุขภาพจิต , โรงพยาบาลนนเวช , PPTV , ผศ. พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุลภาควิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล , Thrive Wellness Clinic