เช็คความสูงของเด็กๆ ว่าสูงตามมาตรฐานในแต่ละวัยหรือไม่

   ความสูงเป็นลักษณะทางกายภาพที่หลายคนให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในสังคมที่เน้นรูปลักษณ์ภายนอก เด็กที่มีส่วนสูงน้อยกว่าค่าเฉลี่ยอาจเผชิญกับการล้อเลียนหรือการเลือกปฏิบัติ ซึ่งอาจส่งผลต่อความมั่นใจในตนเองและคุณภาพชีวิตโดยรวมได้

 • พันธุกรรม: ปัจจัยทางพันธุกรรมมีบทบาทสำคัญที่สุดในการกำหนดส่วนสูง 
 • โภชนาการ: การได้รับสารอาหารที่เพียงพอ โดยเฉพาะแคลเซียม วิตามินดี และวิตามินรวมสำหรับเด็ก จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของกระดูกและความสูง
 • ฮอร์โมนการเจริญเติบโต : ฮอร์โมนการเจริญเติบโต หรือ โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ได้จากการนอนหลับพักผ่อน ผลิตโดยต่อมใต้สมอง และมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้น ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มส่วนสูง 
 • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม: ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การออกกำลังกาย การนอนหลับ และความเครียด อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและความสูง

หากกังวลเกี่ยวกับส่วนสูงของเด็กๆ และต้องการให้เด็กๆ สูงสมวัยพร้อมกับมีพัฒนาการที่ดี แนะนำดังนี้
1.  ส่งเสริมการออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา
   การออกกำลังกายที่เน้นการรับน้ำหนักสามารถช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูกและกล้ามเนื้อ
2.  ให้การนอนหลับที่มีคุณภาพ
 ฮอร์โมนการเจริญเติบโตจะหลั่งมากที่สุดในช่วงที่เด็กนอนหลับ ดังนั้นการนอนหลับอย่างเพียงพอจึงมีความสำคัญ
3. จัดการความเครียด
  ความเครียดอาจส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนการเจริญเติบโต ดังนั้นการจัดการความเครียดจึงเป็นสิ่งจำเป็น
4. ทานสารอาหารที่ครบถ้วน 
 ให้เด็กๆ ได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต เช่น แคลเซียม, วิตามินดี, วิตามินบี 1 2 3 5 6 , วิตามินซี, วิตามินเอ, กรดโฟลิค, ไบโอตินมี

  งานวิจัยในเด็ก สรุปว่า “เด็กที่ทานแคลเซียมควบคู่กับวิตามินรวม 5 วันต่อสัปดาห์ และทานต่อเนื่อง 6 เดือน จะสูงขึ้นกว่าเด็กที่ไม่ได้ทานอย่างเห็นได้ชัด จึงสามารถการันตีได้ว่า การทานวิตามินรวมส่งผลให้เด็กสูงขึ้นจริง”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *